top of page

3 อาหารลดความดันโลหิตสูง ป้องกันเส้นเลือดสมองแตก

ความดันโลหิตสูง เป็นอาการหนึ่งที่เป็นจุดเริ่มต้นของอีกหลายๆ โรค และมักมีสาเหตุสำคัญๆ มาจากพฤติกรรมการทานอาหาร และการใช้ชีวิตของเรา หากใครที่ชอบทานอาหารเค็ม และอาหารที่มีไขมันสูง ก็มีสิทธิ์เป็นโรคความดันโลหิตสูงได้แล้วล่ะค่ะ ยิ่งไปกว่านั้นหากมีความเครียดสะสม และไม่ปรับพฤติกรรมในการทานอาหาร ก็จะยิ่งมีอาการหนักจนอาจก่อให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะสำคัญๆ อย่าง หลอดเลือด หัวใจ และสมองได้


ดังนั้น ก่อนที่จะสายเกินไปจนรักษาได้ยาก เรามาเริ่มทานอาหารที่ช่วยลดความดันโลหิตสูงกันดีกว่า


โรคความดันโลหิตสูง หรืออาจเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า ภาวะความดันโลหิตสูง เป็นอีกหนึ่งโรคที่สามารถพบได้บ่อยในวัยผู้ใหญ่ ซึ่งอาจพบได้มากถึงประมาณ 25% - 30% ของประชากรโลกที่เป็นผู้ใหญ่ทั้งหมด โดยพบในผู้ชายได้บ่อยกว่าผู้หญิง อีกทั้งในบางประเทศยังสามารถพบโรคความดันโลหิตสูงได้ถึง 50% ในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่พบโรคนี้เด็ก เพราะผู้ที่มีอายุน้อยก็อาจมีโอกาสเกิดได้เช่นกัน


โรคความดันโลหิตสูง เกิดขึันได้อย่างไร ?

ในทางการตรวจรักษาได้มีการตรวจพบ โรคความดันโลหิตสูง ชนิดที่ไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งเชื่อว่าอาจเกิดมาจากหลายปัจจัยร่วมกัน โดยมีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดโรคนี้ คือ อิทธิพลของเอ็นไซม์ ที่เป็นสารเคมีที่ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาเคมีต่างๆ มีชื่อเรียกว่า เรนิน (Renin) และฮอร์โมนแองจิโอเท็นซิน (Angiotensin) จากไต โดยสารทั้งสองตัวนี้จะทำงานร่วมกันกับต่อมหมวกไตแบะต่อมใต้สมองในการควบคุมน้ำ เกลือแร่โซเดียม และการบีบตัวของหลอดเลือดในร่างกายทั้งหมด นั้นก็เป็นการควบคุมความดันโลหิตที่มีชื่อเรียกว่า กระบวนการ Renin-Angiotensin system

นอกจากความผิดปกติจากกระบวนการทำงานดังกล่าวแล้ว ก็ยังมีกลไกที่เอื้อให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงได้อีก ดังนี้

  • พันธุกรรม เนื่องมาจากมีการตรวจพบโรคความดันโลหิตสูงมากขึ้นในประวัติครอบครัวที่เป็นโรคนี้

  • เชื้อชาติ โดยมีการตรวจพบผู้ที่เป็นโรคนี้ในคนที่มีเชื้อชาติเป็นอเมริกันผิวดำ

  • การกินอาหารเค็ม ก็อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคความดันสูงได้ เนื่องมาจากว่าเกลือ โซเดียม หรือเกลือทะเลจะเป็นตัวอุ้มน้ำในเลือด โดยจะเข้าไปเพิ่มปริมาตรของเลือดที่ไหลเวียน จึงอาจส่งผลให้เกิดภาวะความดันสูงขึ้นได้

  • ความผิดปกติของกระบวนการทำงานในร่างกายที่ส่งผลต่อสมดุลและการทำงานของเกลือแร่ ตลอดจนแคลเซียมในร่างกาย

โรคความดันโลหิตสูงมีอาการอย่างไร ?

เท่าที่มีการพบ จะเห็นได้ว่า โรคความดันโลหิตสูง นั้นมักเป็นโรคที่ไม่มีอาการใดๆ บ่งบอก เมื่อเกิดโรคนี้แล้วมักเป็นเรื้อรัง รุนแรงหากว่าไม่สามารถควบคุมอาการที่เกิดขึ้นได้ แพทย์บางท่านจึงได้ขนาดนามว่า โรคความดันโลหิตสูง นั้นเป็น เพรฆาตเงียบ (Silent Killer) ซึ่งโดยส่วนใหญ่ อาการที่เกิดจากการเป็นโรคความดันโลหิตสูงมักเป็นอาการที่เกิดข้างเคียงจากการเป็นโรคในกลุ่มต่างๆ ดังนี้ …

  • โรคร้ายแรง ได้แก่ โรคหัวใจ , โรคหลอดเลือดในสมอง

  • โรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ โรคเบาหวาน , โรคอ้วน

  • โรคที่เป็นสาเหตุ ได้แก่ โรคเนื้องอกต่อมใต้สมอง (มีอาการปวดศีรษะและดวงตามองเห็นภาพได้ไม่ชัด)


อาหารลดความดันสูง

1. ผัก และผลไม้ที่มีโพสแทสเซียมสูง เพราะโพแทสเซียมจะช่วยควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติได้ ผัก และผลไม้ที่มีโพแทสเซียม ได้แก่ ลูกพรุน ลูกเกด เมล็ดทานตะวัน อินทผาลัม ผักโขม เห็ด กล้วย ส้ม แต่ใครที่เป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโพแทสเซียมสูงนะคะ


2. ธัญพืชต่างๆ โดยเฉพาะถั่ว โดยอาจเลือกธัญพืชที่อบแห้งแบบไม่อบเกลือ (โซเดียมจะได้ไม่หนัก) นอกจากจะช่วยลดความดันโลหิตสูงแล้ว ยังมีไขมันดีที่ช่วยลดคอเลสเตอรอลในร่างกายอีกด้วย แต่ต้องทานในระดับพอดีๆ เพราะธัญพืชก็ให้พลังงานอยู่เหมือนกันนะ ถ้ากะปริมาณไม่ถูกก็ทานประมาณ 1 กำต่อวันค่ะ


3. อาหารคลีน หมายถึงอาหารที่ปรุงด้วยวิธีที่ใช้ไขมันต่ำ แป้งไม่ขัดสี เช่นข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท และผ่านการปรุงรสน้อยๆ หากทานอาหารคลีนเป็นประจำ จะช่วยลดปริมาณโซเดียมในร่างกาย และช่วยลดความดันโลหิตได้ในระยะยาว


นอกจากอาหารที่ควรทานแล้ว ยังมีอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง เพื่อป้องกันไม่ให้ระดับของความดันโลหิตสูงไปกว่าเดิมด้วยนะคะ


1. แอลกอฮอล์

2. กาแฟ ชา และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน

3. อาหารที่มีไขมันสูง เช่น เนื้อสัตว์ทอด แกงกะทิ ผัดพริกแกง


โรคความดันสูงจะรุนแรงและมีผลข้างเคียงหรือไม่ ?

หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า โรคความดันสูง นั้นเป็นโรคเรื้อรัง โรคเรื้อรังในที่นี่หมายถึงโรคที่รักษาให้หายยาก แต่ยังอยู่ในระดับที่สามารถควบคุมได้เสมอหากว่ามีการควบคุมอาการมาตั้งแต่ต้น ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างสม่ำเสมอ รวมถึงกินยาอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ไม่ขาดยา

ในทางตรงกันข้าม หากผู้ป่วยดูแล รักษา และควบคุมอาการของโรคที่เกิดขึ้นได้ไม่ดี ผลที่จะเกิดตามมานั้นมักจะรุนแรง จนเป็นเหตุให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา อาทิ โรคหลอดเลือดหัวใจ , โรคหลอดเลือดสมอง , โรคไตเรื้อรัง ที่อาจทำให้พิการและเสียชีวิตได้ นอกจากนั้นก็อาจจะมีเป็นโรคหลอดเลือดของจอตาและของประสาทตาที่ส่งผลให้ตาบอดได้ 

เพื่อให้เข้าใจความเป็นไปของโรคความดันสูงได้มากขึ้น สามารถแบ่งออกเป็นระยะตามความรุนแรงของโรค จากน้อยไปหามากได้ดังนี้

  • ความดันโลหิตในผู้ที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นโรคความดันสูง คือ 120-139/80-89 มม.ปรอท มีแนวทางการรักษาโดยการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต แต่แพทย์จะยังคงไม่ให้ยาลดความดันโลหิต

  • โรคความดันสูงระยะที่ 1 ที่ความดันโลหิตจะอยู่ในช่วง 140-159/90-99 มม.ปรอท

  • โรคความดันสูงระยะที่ 2 ที่ความดันโลหิตอยู่ในระดับตั้งแต่ 160/100 มม.ปรอทขึ้นไป

  • โรคความดันสูงที่จะต้องเดินทางไปพบแพทย์ภายใน 24 ชั่วโมง คือ ความดันโลหิตสูงตั้งแต่ 180/110 มม.ปรอทขึ้นไป เพราะอาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ทำให้เกิดโรคหัวใจ สมอง ไต ล้มเหลว

  • โรคความดันสูงที่จะต้องพบแพทย์ฉุกเฉิน ที่ความดันโลหิตจะอยู่ในระดับตั้งแต่ 220/140 มม.ปรอทขึ้นไป เพราะการเกิดความดันโลหิตสูงในระดับนี้มักจะเป็นอันตรายถึงชีวิตซึ่งมาจากการล้มเหลวของอวัยวะต่างๆ  ภายในร่างกาย เช่น หัวใจ สมอง และไต

หากอยากลดโรคความดันโลหิตให้เห็นผลเร็วขึ้นอีกนิด ปรับพฤติกรรมในการทานอาหารแล้ว ต้องปรับพฤติกรรมในการใช้ชีวิตด้วย ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ และทำจิตใจเบิกบาน ผ่อนใส ไม่เครียด เท่านี้ร่างกายก็แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนแล้วล่ะค่ะ


ขอขอบคุณ


1 Comment


madootv settopbox
madootv settopbox
Sep 02, 2017

มีประโยชน์ขอแชร์ค่ะ

Like
Featured Posts
Check back soon
Once posts are published, you’ll see them here.
Recent Posts
Archive
Search By Tags
No tags yet.
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page